ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

หมี่ตะุคุ ของฝาก ปักธงชัย รสเลิศ

สนใจติดต่อ คุณ น้อย 0896810738
เราขอแนะนำ สองยี่ห้อ ที่เราการันตี ความอร่อยครับ
คือ แพรดาว และ สำเภาทอง  ยอดการสั่งซื่อ เขามาตลอด ครับ ลูกค้าชอบมาก
หมี่โคราช
      หมี่ เป็น อาหารมื้อกลางวัน ในชีวิตประจำวันของคนโคราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบุญ เช่น งานโกนจุก งานบวชนาค แต่งงาน หรืองานสมโภชอื่นๆ การผลิตเส้นหมี่ จะผลิตในหมู่บ้านทั่วๆ ไปแต่แหล่งผลิตที่สำคัญ ทำเป็นอาชีพ ส่งขายทั่วไป ได้แก่หมี่พิมาย อำเภอพิมาย หมี่กระโทก อำเภอโชคชัย หมี่ตะคุ อำเภอ ปักธงชัย หมี่กุดจิก อำเภอสูงเนิน หมี่จักราช อำเภอจักราช การทำเส้นหมี่ ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เป็นภูมิปัญญา ในการพลิกแพลงอาหาร จากแป้งได้เป็นอย่างดี.


หมี่ตะคุ หมายถึง อาหารประเภทหนึ่งโคราชซึ่งทำมาจากแป้งลักษณะเป็นเส้นที่ใช้วิธีการถนอมอาหารแบบการอบแห้งเพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บรักษา
หมี่ตะคุ มีที่มาจากอำเภอปักธงชัย นอกจากนี้ในโคราชยังมีหมี่อีกหลายชนิด เช่น หมี่กระโทก อำเภอโชคชัย หมี่พิมาย เป็นต้น

รูปแบบการทำหมี่ตะคุแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

1.แบบดั้งเดิม
     เป็นวิธีการทำให้อาหารแห้งโดยธรรมชาติใช้แสงแดดโดยตรง อาศัยไอร้อนจากแสงแดด และอาศัยการผึ่งลม
2.แบบโรงงาน
      เป็นวิธีการทำให้อาหารแห้งด้วยเครื่องจักร กลวิธีการนี้เป็นการนำเอาเทคนิคและหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยว ข้องด้วยซึ่งอาศัยหลักการส่งความร้อนเข้าไปในชิ้นอาหารเพื่อทำให้น้ำหรือ ความชื้นกลายเป็นไอระเหยออกไปจากผิวหน้าอาหาร 
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำหมี่ตะคุแบบดั้งเดิม
  1. คอหม้อฝา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับนึ่งหมี่


  2. ฝาครอบคอหม้อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปิดคอหม้อฝาในขณะนึ่ง


  3. ไม้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยกแผ่นแป้งมาตาก

  4. กระด้ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียงแผ่นแป้ง


  5. ผ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คลุมแผ่นแป้งที่แห้งแล้ว


  6. มีด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหั่นแผ่นแป้ง

  7. เส้นตอก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตากแผ่นแป้ง 
  8. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำหมี่ตะคุแบบโรงงาน
  9. เครื่องโม่แป้ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับโม่ข้าวให้เป็นน้ำแป้ง


  10. เครื่องตัด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัดหมี่ออกเป็นเส้น


  11. เครื่องอบแห้ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอบหมี่ให้แห้ง
วัตถุดิบสำหรับการทำหมี่ตะคุ มีดังนี้
  1. น้ำมันพืชใช้ทาบนแผ่นแป้ง


  2. น้ำเปล่าใช้ทาบนแผ่นแป้ง


  3. ข้าวใช้เพื่อนำมาโม่เป็นน้ำแป้ง


  4. สี ใช้เพื่อปรุงแต่งหมี่ให้มีความน่ารับประทานมากขึ้นแบ่งเป็น แบ่งเป็น 3 สี ดังนี้
                  1.สีเหลือง ทำมาจากฟักทอง
                  2.สีเขียว ทำมาจากผักคะน้า
                  3.สีแดง ทำมาจากมะเขือเทศ
  5. วิธีในการทำหมี่ตะคุแบบดั้งเดิมมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1.นำข้าวที่แช่น้ำมาโม่เป็นแป้ง

    2.นำน้ำแป้งมาเกลี่ยคอหม้อปิดไว้สักครู่แล้วเปิดออก

    3.ยกแผ่นแป้งมาเรียงบนแผ่นไม้เพื่อตาก

    4.เก็บแป้งที่แห้งมาเรียงในกระด้งแล้วคลุมด้วยผ้าชุบน้ำหมาด

    5.ทาด้วยน้ำมันพืชด้านหนึ่งและน้ำเปล่าอีกด้านหนึ่ง

    6.นำแป้งที่แห้งมาพับและม้วนเข้าหากันแล้วหั่นเป็นเส้น

    7.นำหมี่มามัดเป็นกำพร้อมจำหน่าย
     
     
    วิธีการทำหมี่คะตุแบบดั้งเดิม มีวิธีการดังนี้

    1.นำข้าวที่แช่น้ำมาโม่เป็นแป้ง
       การนำข้าวที่ผ่านการแช่นำแล้ว มาใส่ภาชนะที่ใช้สำหรับการโม่แป้ง โดยมีขั้นตอนดังรูปด้านล่างนี้




2.นำน้ำแป้งมาเกลี่ยคอหม้อปิดไว้สักครู่แล้วเปิดออก
   การนำน้ำแป้งที่ได้จากการโม่มาเกลี่ยบนคอหม้อที่ตั้งบนเตาไฟแล้วทำการปิดฝา ไว้สักครู่เพื่อให้แป้งสุก แล้วก็เปิดออกโดยมีขั้นตอนดังรูปด้านล่างน
ี้




3. ยกแผ่นแป้งมาเรียงบนแผ่นไม้เพื่อตาก
   การนำแผ่นแป้งสุกที่ได้จากการนำแป้งไปเกลี่ยบนคอหม้อมาเรียงไว้บนแผ่นไม้เพื่อตากให้แผ่นแป้งแห้งโดยมีขั้นตอนดังรูปด้านล่างนี้



4. เก็บแป้งที่แห้งมาเรียงในกระด้งแล้วคลุมด้วยผ้าชุบน้ำหมาด
   การเก็บแผ่นแป้งที่แห้งแล้วมาเรียงใส่ในกระด้งแล้วคลุมด้วยผ้าที่ชุบนำหมาด เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการต่อไปโดยมีขั้นตอนดังรูปด้านล่างนี้




     ผัด หมี่โคราช เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของคนโคราชเป็นอย่างมาก โดยผัดหมี่โคราชนั้นจะมีการนำหมี่ตะคุเข้ามาใช้ในการเป็นส่วนประกอบหลักใน การผัด โดยรสชาติของหมี่นั้นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น